,

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ มีอะไรบ้าง และควรจัดการอย่างไรเมื่อต้องดำเนินคดีกับคู่กรณี

ทางออก คดียักยอกทรัพย์ มีอะไรบ้าง และควรจัดการอย่างไรเมื่อต้องดำเนินคดีกับคู่กรณี

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ มีอะไรบ้าง? เชื่อว่าคงไม่มีใครที่อยากจะต้องตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย ไม่ว่าจะในคดีความใดก็ตาม ซึ่งเมื่อเกิดคดีความขึ้นแล้วสิ่งที่ต้องจัดการต่อไปก็คือการดำเนินคดีกับคู่กรณีเพื่อให้สิ้นสุดคดีความ โดยหนึ่งในคดีที่มักเกิดขึ้นบ่อยในสังคม คือ คดียักยอกทรัพย์ นั่นเอง แต่ทราบหรือไม่ว่าการกระทำแบบไหนที่เป็นการยักยอกทรัพย์ หรือหากเกิดมีคู่กรณีขึ้นมาแล้ว แนวทางการแก้ปัญหาคดี ยักยอกทรัพย์จะต้องเป็นแบบไหน ไปหาคำตอบกันในบทความนี้

รายละเอียดเนื้อหา

คดียักยอกทรัพย์ คืออะไร

คดียักยอกทรัพย์ คือคดีที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งความผิดจะอยู่ในมาตรา 352 ระบุว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์สินนั้นไปเป็นของตน หรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จะถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก และเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะต้องนำไปสู่กระบวนการของ ดำเนินคดี ยักยอกทรัพย์ ต่อไป

การตัดสินและโทษของคดียักยอกทรัพย์

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ มีอะไรบ้าง และควรจัดการอย่างไรเมื่อต้องดำเนินคดีกับคู่กรณี

แน่นอนว่าเมื่อเกิดคดีความขึ้นแล้ว แม้ว่าจะด้วยความไม่รู้หรือคิดว่าทำแล้วไม่เป็นความผิด แต่คดียักยอกทรัพย์ก็ถือเป็นความผิดอาญา และมีบทกฎหมายระบุเอาไว้ตามมาตรา 352 ระบุว่า ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย หรือเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จะถือว่ากระทำผิดฐานยักยอก “จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” แต่หากทรัพย์นั้นอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำผิด โดยผู้อื่นส่งมอบให้ หรือเป็นทรัพย์สินหายและผู้กระทำผิดเก็บได้ เช่น นั้นผู้กระทำจะต้องระวางโทษเพียงกึ่งหนึ่ง

กรณีใดบ้างที่เข้าข่ายยักยอกทรัพย์

หลายครั้งที่คดี ยักยอกทรัพย์นั้นเกิดขึ้นโดยผู้กระทำผิดอาจไม่รู้หรือคิดว่าไม่มีความผิด ทำให้สุดท้ายแล้วต้องเสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการขึ้นศาลกัน ซึ่งต่อไปนี้คือกรณีที่ถือว่าเข้าข่ายการทำผิดยักยอกทรัพย์

กรณีนี้จะเป็นการยักยอกทรัพย์โดยนำเอาจากผู้ที่ครอบครองโดยแท้จริง เช่น นาย A ไปเช่าคอนโดจากนาย B โดยภายในคอนโดมีเฟอร์นิเจอร์ที่ครบครัน ซึ่งนาย A มีหน้าที่จ่ายค่าเช่าสำหรับอยู่อาศัย และช่วยดูแลเฟอร์นิเจอร์ให้อยู่ครบถ้วน แต่เมื่อนาย A เลิกเช่าคอนโดแล้ว แต่กลับขนเอาเฟอร์นิเจอร์ไปด้วย เช่นนี้จะถือว่านาย A ทำการยักยอกทรัพย์จากนาย B ไป เพราะชื่อเจ้าของคอนโดเป็นของนาย B เป็นต้น

หรือแม้แต่การเบียดบังทรัพย์ เช่น นาย A แอบนำกระเป๋าของ นาย B ไปเก็บไว้ในห้องของตัวเอง และหยิบไปใช้เสมือนว่าเสียเงินซื้อมาด้วยตัวเอง โดยไม่คิดส่งคืน นาย B หรือนำกระเป๋าไปแปรสภาพ และขายต่อให้คนอื่น แบบนี้เข้าข่ายการยักยอกทรัพย์เช่นเดียวกัน เพราะมีเจตนา “โดยทุจริต” ก็จะต้องดำเนินคดีเพื่อหา ทางออกคดี ยักยอกทรัพย์ต่อไป

ควรทำอย่างไรเมื่อต้องจัดการกับคู่กรณีในคดียักยอกทรัพย์

เมื่อถูกยักยอกทรัพย์แล้ว สิ่งต่อไปคือการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไป ซึ่งก็ต้องเริ่มจากการตรวจสอบข้อเท็จจริง หากมีหลักฐานก็ให้ทำการรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และถ้าจะให้ดีที่สุดก็คือการปรึกษากับทางที่ปรึกษาทางกฎหมาย หรือทนายความ เพื่อช่วยให้เข้าสู่กระบวนการต่อไปของทางออก คดียักยอกทรัพย์ต่อไป ทั้งคดียักยอกเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ดังนั้นผู้ที่ถูกยักยอกจะต้องแจ้งความต่อพนักงาน หรือฟ้องคดีต่อศาลภายในระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำ หากปล่อยเลยเวลาคดีจะหมดอายุความในที่สุด

ทางออกคดี ยักยอกทรัพย์

แม้ว่าจะเป็นคดีที่มีการระวางโทษตามบทกฎหมายเอาไว้ชัดเจน แต่ทางออกของคดี ยักยอกทรัพย์นั้นก็มีแนวทางแก้ไขปัญหาก่อนจะไปถึงการตัดสินที่สูงที่สุดได้เช่นกัน โดยสรุปได้เป็นกรณีดังนี้

  • การพูดคุยกับทางผู้เสียหาย ว่าต้องการผ่อนชำระบรรเทาความเสียหายได้หรือไม่ และเป็นจำนวนกี่บาทในระยะเวลากี่เดือน
  • หากมีการแจ้งความกับทางตำรวจไว้แล้ว เมื่อได้รับหมายเรียก ควรไปพบตำรวจตามหมาย และควรที่การพูดคุยกันผ่านทางเจ้าหน้าที่ด้วย ว่าต้องการบรรเทาความเสียหายอย่างไร
  • หากมีการตกลงบรรเทาความเสียหายกันจนเป็นที่พอใจกับทางเจ้าหนี้แล้ว ทางเจ้าหนี้หรือผู้เสียหายจะต้องถอนแจ้งความหรือถอนคำร้องทุกข์เพื่อให้คดีอาญาเป็นอันสิ้นสุด ซึ่งเป็นวิธีที่ดีกับทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ทางออกของคดี  ยักยอกทรัพย์นั้นจะต้องมีการพูดคุย ตกลง และควรมีการทำสัญญาในการตกลง การบรรเทา หรือการดำเนินชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ อย่างชัดเจนด้วย หรือให้ดีการปรึกษาทนายก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยหาทางออกในคดีนี้ได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของการมีที่ปรึกษากฎหมาย

เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับคดีความแล้ว แน่นอนว่าเรื่องของการดำเนินการ การฟ้องร้องเอาผิดต่อผู้ยักยอกทรัพย์ หรือหากตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ายักยอกทรัพย์ก็ตาม การที่จะจัดการกับทุกอย่างตามขั้นตอนอาจไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งการจัดการเรื่องเอกสารต่างๆ ก็ยังเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการหาที่ปรึกษากฎหมายให้เข้ามาช่วยดูแล จัดการ ก็เป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด และช่วยให้คุณตกลงกับทางคู่กรณี หรือผู้เสียหายได้ง่ายด้วย

ติดต่อสำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล เพื่อหาทางออกคดียักยอกทรัพย์

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ มีอะไรบ้าง และควรจัดการอย่างไรเมื่อต้องดำเนินคดีกับคู่กรณี

หากคุณคือหนึ่งในผู้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาเรื่องคดีความ หรือหาทางออกคดี ยักยอกทรัพย์ ที่ สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล ยินดีให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำเพื่อให้คุณได้ทางออกที่ดีที่สุด เพราะที่สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล เรามีทนายความที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องข้อกำหนดกฎหมาย พร้อมช่วยดูแลจนกว่าจะได้ทางออกของคดีความที่ดีที่สุดอย่างแน่นอน สามารถสอบถามรายละเอียด หรือปรึกษาทนายความที่สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล ได้ที่ sorasaklaw.com หรือ ติดต่อสอบถามเพื่อรับคำปรึกษาด้านกฎหมาย ที่ บริษัท สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล จำกัด: 49/78 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 

โทร: 081-692-2428, 094-879-5865

Facebook: บริษัท สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล จำกัด

Line: Sorasak