,

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ ปรึกษาทนายความ สำนักงานทนายความสรศักย์

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ ปรึกษาทนายความ สำนักงานทนายความสรศักย์

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ แก้ไขได้หากมีที่ปรึกษาด้านกฎหมายที่เชี่ยวชาญ ปัจจุบันเรื่องของคดีความเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น อย่างที่เรามักจะเห็นได้จากหลายกรณีที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียลที่มักจะมีผู้ถูกฟ้องร้องกันอยู่เสมอ และหลายๆ คนก็หาแนวทางแก้ไขปัญหาคดียักยอกทรัพย์กันไม่ได้ จนกลายเป็นผู้กระทำผิดไปในที่สุด

สำหรับใครที่กำลังอยู่บนความเสี่ยง หรืออาจจะต้องกลายเป็นผู้ต้องหาในคดียักยอกทรัพย์โดยไม่ได้ระมัดระวังมาก่อน ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จัก และแนะนำทางออกคดียักยอกทรัพย์ที่น่าสนใจให้ได้ทราบกัน

คดียักยอกทรัพย์ คือ

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ ปรึกษาทนายความ สำนักงานทนายความสรศักย์

สำหรับคดียักยอกทรัพย์นั้นก็คือ คดีที่โจทก์ทำการฟ้องจำเลยในความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา และในความผิดฐานยักยอกนี้ก็อยู่ในมาตรา 352 ที่มีหลักว่า ผู้ใดที่ครอบครองทรัพย์อันเป็นของผู้อื่น หรือมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และเบียดบังทรัพย์นั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นจะถือว่าได้กระทำความผิดฐานยักยอกทันที

ยกตัวอย่างเช่น นาย A ยืมรถของ นาย B ไปใช้ขับขี่และนำไปจำนำเพื่อนำเงินไปใช้จ่าย กรณีแบบนี้ ต่อให้ นาย A จะสนิทกับนาย B มากขนาดไหนก็ตาม ก็ถือว่าได้กระทำผิดฐาน “ยักยอกทรัพย์” แล้ว

บทลงโทษคดียักยอกทรัพย์

สำหรับผู้ที่ตกเป็นจำเลย และไม่สามารถหาทางออกคดียักยอกทรัพย์ได้ จะถือได้ว่าเป็นผู้กระทำผิด และต้องรับบทลงโทษในคดียักยอกทรัพย์ทันที โดยแบ่งเป็นมาตราดังนี้

  • มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์อันเป็นของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมด้วย และเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเอง หรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 353 ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินของผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมด้วย ทำผิดจากหน้าที่ของตนโดยทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 354 ถ้าทำผิดตาม มาตรา 352 หรือ 353 โดยได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น ตามคำสั่งศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐาน เป็นผู้ที่มีอาชีพ หรือธุรกิจ ที่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 355 ผู้ใดเก็บสังหาริมทรัพย์อันมีค่า ซ่อน หรือฝังไว้โดยพฤติการณ์ที่ไม่มีผู้ใดอ้างเป็นเจ้าของ แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปเป็นของตนหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • มาตรา 356 ความผิดในหมวดนี้ถือเป็นความผิดที่ยอมความได้
  • มาตรา 96 ภายใต้บังคับ 95 กรณีความผิดอันยอมความได้ หากผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน จากวันที่รู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิด ถือว่าเป็นอันขาดอายุความ

ความแตกต่างระหว่าง คดีลักทรัพย์ และ คดียักยอกทรัพย์

หลายคนอาจสงสัยว่าสิ่งที่ตนเองกระทำไม่ได้เรียกว่าลักทรัพย์ แต่อาจเข้าข่ายของคดียักยอกทรัพย์มากกว่า ซึ่งก็มีโอกาสที่จะได้รับโทษที่เบากว่า แต่แท้จริงแล้ว คดีลักทรัพย์ และคดียักยอกทรัพย์นั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือความผิดในฐานลักทรัพย์นั้นจะเป็นการ “แย่ง” กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในการครอบครอง ในขณะที่คดียักยอกทรัพย์นั้น ผู้กระทำผิดมีสิทธิครอบครอง แต่กลับ “เบียดบัง” หรือยึดครองเป็นของตนเอง หรือสรุปได้ง่ายๆ ดังนี้

คดีลักทรัพย์

  • ทรัพย์ที่ถูกลักจะต้องอยู่ในการครอบครองของผู้อื่นในขณะที่ถูกเอาไป
  • ผู้กระทำผิดมีเจตนาทุจริตโดยชัดเจนในการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้อื่น
  • ความผิดอาญาแผ่นดิน
  • แม้ว่าของจะตกหายแต่หากเจ้าของยังไม่สละการครอบครอง และหากนำไปโดยรู้หรือมีเหตุให้รู้ว่าเจ้าของยังคงติดตามค้นหาอยู่ ก็เข้าข่ายเป็นการลักทรัพย์

คดียักยอกทรัพย์

  • ทรัพย์ยังคงอยู่ในการครอบครองของผู้ยักยอก แล้วทำการยึดครองเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเอง
  • ทรัพย์ยังอยู่ในการครอบครองของผู้กระทำ แล้วมีเจตนาที่จะทุจริต เพื่อเบียดบังเอาทรัพย์ในภายหลัง
  • ความผิดสามารถยอมความได้
  • หากเป็นของตกหาย และเก็บไปโดยไม่รู้ว่าเจ้าของยังติดตามค้นหา จะถือเป็นการยักยอกทรัพย์

บทบาทของที่ปรึกษากฎหมายในคดียักยอกทรัพย์

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาทางออกคดียักยอกทรัพย์ การว่าจ้างที่ปรึกษากฎหมายในคดียักยอกทรัพย์ ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดโอกาสที่จะถูกตัดสินให้รับโทษสูงสุดได้ กรณีที่ผู้ว่าจ้างเป็นจำเลย ที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายจะทำการสืบค้นหาพยาน และหาหลักฐานในการต่อสู้คดี เพื่อให้ได้รับการตัดสินในสถานเบา หรือสามารถไกล่เกลี่ยเพื่อยอมความ และชดใช้ในรูปแบบอื่นได้ ทั้งกรณีที่ผู้ว่าจ้างเป็นโจทก์ ที่ปรึกษาทางกฎหมายสำหรับคดียักยอกทรัพย์จะนำสืบค้นหาหลักฐาน และพยาน เพื่อให้ทางจำเลยได้รับโทษสูงสุดและผู้เป็นจำเลยได้รับการชดใช้ตามกฎหมาย

ความสำคัญของการจ้างทนายความในการดำเนินคดี

การจ้างทนายความเพื่อหาทางออกคดียักยอกทรัพย์เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ผู้กระทำผิดได้รับโอกาสที่จะสำนึก และยอมชดใช้ค่าเสียตามมูลค่าจริงตามกระบวนการทางกฎหมาย นอกจากนี้ทนายความยังมีส่วนสำคัญในการช่วยจัดเตรียมถ้อยแถลง และเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นทำให้ผู้ว่าจ้างไม่ต้องคอยกังวล หรือมีความเครียดเพิ่มขึ้นในกระบวนการพิจารณาคดี และเป็นวิธีที่นำไปสู่ทางออกคดียักยอกทรัพย์ได้อย่างที่ผู้ว่าจ้างต้องการอีกด้วย

ข้อดีของการมีที่ปรึกษากฎหมายด้าน คดียักยอกทรัพย์

การมีที่ปรึกษากฎหมายด้านคดียักยอกทรัพย์ ก็เปรียบเสมือนการมีเพื่อนคู่คิด ที่คอยช่วยให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา รวมทั้งคอยจัดการงานด้านเอกสาร และงานด้านการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดหวังไว้ ซึ่งการมีที่ปรึกษากฎหมายในคดียักยอกทรัพย์ ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้ทรัพย์สินกลับคืนมาครอบครองเป็นของตัวเองได้อีกครั้ง หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะได้รับการชดใช้ตามจำนวนสินทรัพย์ที่ถูกยักยอก

สำนักงานทนายความสรศักย์ ที่ปรึกษากฎหมาย คดียักยอกทรัพย์

ทางออกคดียักยอกทรัพย์ ปรึกษาทนายความ สำนักงานทนายความสรศักย์

สำหรับใครที่กำลังมองหาทางออกคดียักยอกทรัพย์อยู่ ที่สำนักงานทนายความสรศักย์ เป็นที่ปรึกษากฎหมายในหลากหลายคดี และยิ่งในคดียักยอกทรัพย์ ที่สำนักงานทนายความสรศักย์ก็พร้อมดูแล และให้ความสำคัญกับคุณ เพื่อสืบทรัพย์บังคับคดีและติดตามหนี้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อปรึกษาทนายความ ได้ที่:บริษัท สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล จำกัด 49/78 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
โทร: 081-692-2428094-879-5865
Facebook: บริษัท สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล จำกัด
Line: Sorasak