,

รับจดทะเบียน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท โดย ทีมทนายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ

รับจดทะเบียนบริษัท ขอใบอนุญาติประกรอบธุรกิจ โดยทีมทนายผู้เชี่ยวชษญ

รับจดทะเบียน การจัดตั้งบริษัทยากไหม? จะทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้ไลฟ์สไตล์ในการทำงานเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เห็นได้จากคนรุ่นใหม่ที่เริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจด้วยตัวเองกันแทนการทำงานประจำ ซึ่งก็ทำให้จำนวนอัตราของการจดทะเบียนบริษัทเพิ่มขึ้นด้วย แต่ทราบหรือไม่ว่าการจดทะเบียนบริษัทก็มีข้อควรทราบอยู่เช่นกัน ซึ่งก่อนที่จะหาบริษัทที่รับจดทะเบียนนั้น ขอเชิญชวนทุกท่านมาทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้กันก่อน

การจดทะเบียนบริษัท (Company Registration)

การจดทะเบียนบริษัท (Company Registration) เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการก่อตั้ง และเริ่มกิจการของบริษัทที่เป็นรูปแบบสากลในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งสามารถทำได้เมื่อมีผู้ร่วมจดทะเบียนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยกระบวนการนี้เป็นการลงทะเบียนบริษัทเพื่อให้บริษัทนั้นๆ ได้รับสิทธิ และความรับผิดชอบต่างๆ ตามที่ข้อกฎหมายกำหนด ทั้งนี้การจดทะเบียนบริษัทก็ยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรมากขึ้นด้วย

ความสำคัญของการจดทะเบียนบริษัท

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ประกอบการเล็กๆ หรือบริษัทใหญ่ การจดทะเบียนบริษัทมีประโยชน์ และความสำคัญในหลายด้าน โดยเฉพาะ 5 ประการนี้

  1. กฎหมายและความถูกต้อง การจดทะเบียนบริษัทคือการยืนยันว่ากิจการของคุณถูกต้องตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยให้คุณประกอบกิจการได้อย่างมั่นใจ และไม่ต้องกังวล
  2. ความน่าเชื่อถือในตลาด การจดทะเบียนบริษัททำให้ธุรกิจของคุณมีความน่าเชื่อถือในตลาด จะเพิ่มโอกาสด้านความเชื่อใจมากขึ้นในการทำธุรกิจ
  3. การกู้ยืมเงินและการระดมทุน การจดทะเบียนบริษัทช่วยเพิ่มโอกาสในการกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือหน่วยงานการเงินอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากธนาคาร และผู้ให้กู้ยืมมักต้องการเอกสารหลักฐานว่าคุณมีธุรกิจที่ถูกต้อง และมีความเสี่ยงต่ำ
  4. สิทธิและความคุ้มครองของชื่อและเครื่องหมายการค้า การจดทะเบียนบริษัทช่วยคุ้มครองสิทธิในการใช้ชื่อ และเครื่องหมายการค้า
  5. การเสริมสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและพาร์ทเนอร์

กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย

รับจดทะเบียนบริษัท ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ โดย ทีมทนายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ

แน่นอนว่าการจดทะเบียนบริษัทนั้นมีเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่ควรทราบด้วย ซึ่งการว่าจ้างบริษัทที่รับจ้างจดทะเบียนบริษัท ที่มีความรู้ และเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมายก็จะช่วยให้สามารถจัดการกับขั้นตอนในการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์บางส่วนที่ควรทราบ มีดังนี้

  • มาตรา 1097 บุคคลใดตั้งแต่สองคนขึ้นไปจะเริ่มก่อตั้งกิจการ และตั้งเป็นบริษัทจำกัดก็ได้โดยเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทำการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
  • มาตรา 1016 บัญญัติให้การจดทะเบียนหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือแก้ไขข้อความที่จดทะเบียนไว้ภายหลัง ให้จดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่หรือตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประกาศกำหนด
  • มาตรา 1237 เป็นบทบัญญัติที่ศาลอาจสั่งให้เลิกบริษัท ด้วยเหตุห้าประการ เหตุหนึ่งตามบทบัญญัติเดิมคือ ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสามคน แก้ไขใหม่ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติอื่นที่แก้ไขในครั้งนี้ คือแก้ไขเป็น ถ้าจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือเพียงคนเดียว

นี่เป็นเพียงบางส่วนของข้อกฎหมาย และกฎระเบียบที่ควรทราบก่อนตัดสินใจจดทะเบียนบริษัท ซึ่งนอกจากนี้ยังมีข้อกฎหมายที่ต้องทราบอีกหลายข้อที่สำคัญ ดังนั้นการให้บริษัทกฎหมายที่เชี่ยวชาญด้านเอกสารบริษัทแบบครบวงจรเข้ามาดูแลจัดการจะช่วยได้มากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนของกระบวนการจดทะเบียนบริษัท

สำหรับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนบริษัท ต่อไปนี้คือ ขั้นตอนที่สำคัญซึ่งอยู่ในกระบวนการจดทะเบียนบริษัท

การเลือกชื่อบริษัทที่เหมาะสม

การตั้งชื่อบริษัทที่ถูกต้องนั้น ไม่ควรใช้คำที่อาจสื่อความหมายในทางที่ผิด และไม่ใช้พระนามของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์ปัจจุบัน ไม่ใช้ชื่อประเทศ และไม่มีชื่อของกระทรวง ทบวง กรม หรือชื่อของส่วนราชการ

การจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียน

กเอกสารที่จำเป็นของการยื่นจดทะเบียนบริษัทจะต้องให้ผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง มีดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ.1)
  • แบบคำรับรองการจดทะเบียนจำกัด
  • รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
  • รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
  • บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
  • สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
  • สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
  • สำเนาข้อบังคับ ติดอากร 200 บาท (ถ้ามี)
  • หลักฐานการชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  • แบบ สสช.1
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการทุกคน
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอได้ด้วยตัวเอง)

ขั้นตอนการยื่นคำขอจดทะเบียนและการตรวจสอบเอกสาร

เมื่อจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว การยื่นคำร้องหนังสือจดทะเบียนบริษัท จะต้องยื่นต่อนายทะเบียน และต้องยื่นภายใน 30 วัน โดยข้อมูลที่จำเป็นต้องรายงานมีดังนี้

  • ชื่อบริษัท ที่จองไว้
  • ข้อมูลที่ตั้ง เบอร์โทรศัพท์ และเว็บไซต์
  • วัตถุประสงค์บริษัท
  • ทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ-ที่อยู่ ของพยาน จำนวน 2 คน
  • ชื่อ-ที่อยู่ กรรมการ
  • รายชื่อ จำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงนาม
  • ชื่อ-เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและค่าตอบแทน
  • ชื่อ-ที่อยู่ และจำนวนผู้ถือหุ้น
  • จำนวนทุน ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อย 25% ของทุนจดทะเบียน

การจ่ายค่าธรรมเนียมและภาษีในกระบวนการจดทะเบียน

ก่อนเสร็จสิ้นการจดทะเบียน จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียม ซึ่งมีทั้งหมด 6 รายการด้วย ดังนี้

  • ค่าหนังสือรับรอง 40 บาท
  • ค่ารับรองสำเนาเอกสารขอจดทะเบียน 50 บาท
  • ค่าใบสำคัญการจดทะเบียน 100 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธ 500 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท 5,000 บาท

ความสำคัญของการเลือกประเภทของบริษัท

การเริ่มต้นธุรกิจใหม่หรือการเปิดตัวองค์กรในปัจจุบันมีความสำคัญมากในการตัดสินใจเลือกประเภทของบริษัทที่เหมาะกับความต้องการ และวัตถุประสงค์ของผู้ก่อตั้ง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่มีรายได้ต่ำ บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ก็ตาม ซึ่งการตัดสินใจนี้จะส่งผลต่อโครงสร้างของธุรกิจและระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ

ประเภทของบริษัทที่สามารถจดทะเบียนในประเทศไทย

สำหรับประเภทของบริษัทที่มีการรับจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ ประเภทนี้เจ้าของทุกคนจะมีสิทธิ์ในการจัดการกิจการ และแบ่งปันผลกำไรที่ได้ในกิจการทุกคน
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด รูปแบบนี้จะมีสิทธิ์ในการสอบถามเรื่องการดำเนินธุรกิจ ออกความเห็น และเป็นที่ปรึกษาของกิจการได้
  • ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัด สำหรับประเภทนี้หุ้นส่วนทุกคนสามารถดำเนินกิจการ และตัดสินใจทุกอย่างในกิจการนี้ได้อย่างเต็มที่
  • บริษัทจำกัด เป็นรูปแบบที่ทำกิจการร่วมกัน เพื่อทำกำไรร่วมกัน และต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยต้องมีผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คนขึ้นไป

การเลือกประเภทของบริษัทที่เหมาะกับวัตถุประสงค์ และกิจกรรมทางธุรกิจ

เมื่อมีตัวเลือกถึง 4 ประเภท สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญต่อมาก็คือการเลือกให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจด้วย โดยแบ่งได้ดังนี้

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ เหมาะกับกิจการที่มีเจ้าของ หรือหุ้นส่วนสองคนขึ้นไป และหุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับภาระหนี้สินที่เกิดจากการร่วมกันแบบ ไม่จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด เหมาะกับผู้ที่มีเงินทุนในการลงทุน และให้คำแนะนำในการดำเนินธุรกิจมากกว่า เพราะไม่สามารถลงแรงทำกิจการด้วยตัวเองได้
  • ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัด เหมาะสำหรับคนที่อยากบริหารจัดการด้วยตัวเองทั้งหมด แม้มีเพียงคนเดียวก็สามารถทำได้ แต่ก็ต้องรับภาระหนี้สินจากกิจการแบบไม่จำกัด
  • บริษัทจำกัด เป็นรูปแบบการจดทะเบียนที่ต้องมีผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คนขึ้นไป และเหมาะกับธุรกิจที่มีการเติบโตในระดับหนึ่ง โดยมีมูลค่าของบริษัทที่ค่อนข้างสูง

ข้อดีของการใช้มีที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัท ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ โดย ทีมทนายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือขั้นตอน และสิ่งที่ต้องเข้าใจในการยื่นจดทะเบียนบริษัท ซึ่งก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น โดยผู้ที่สนใจอยากจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจริงๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปวดหัวกับขั้นตอนที่ยุ่งยาก และข้อกฎหมายที่เข้มงวด เพราะเพียงให้บริษัทกฎหมายที่มีทีมงานเชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายธุรกิจ จะช่วยจัดการทุกอย่างได้อย่างรวดเร็ว และง่ายดาย

สำนักงานทนายความสรศักย์ ให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย

รับจดทะเบียนบริษัท ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ โดย ทีมทนายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ

และถ้าหากคุณกำลังมองหาผู้ช่วยให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา ขอแนะนำ สำนักงานทนายความสรศักย์ ที่มีทีมงานทนาย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจโดยตรง หมดปัญหายื่นเรื่องแล้วไม่ผ่าน หรือเตรียมเอกสารไม่ครบ เพราะเรื่องจดทะเบียนบริษัทอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ แต่ง่ายสำหรับเรา ทุกปัญหามีทางออกติดต่อสอบถาม เพื่อรับคำปรึกษาด้านการลงทุน ทำธุรกิจของท่านได้ที่ บริษัท สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล จำกัด: 49/78 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700
โทร: 081-692-2428094-879-5865
Facebook: บริษัท สำนักงานกฎหมายสรศักย์และที่ปรึกษาสากล จำกัด
Line: Sorasak