การจดทะเบียนบริษัท (Company Registration)

ข้อควรรู้ รายละเอียดเบื้องต้น (เวลาอ่าน 5 นาที)

การจดทะเบียนบริษัท (Company Registration)

การจดทะเบียนบริษัท (Company Registration)

ประเภทของการจดทะเบียนบริษัท และข้อดีข้อเสีย

ปัจจุบันผู้คนที่มีรายได้จำนวนหนึ่งเริ่มหันเข้ามาจดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเป็นจำนวนมาก หากท่านคือคนหนึ่งที่อยากเป็นเจ้าของบริษัท ให้ท่านลองศึกษาประเภทของการจดทะเบียนบริษัท ที่ตรงกับความต้องการของท่าน

  • แบบทะเบียนพาณิชย์หรือบุคคลธรรมดา : คือการเปิดบริษัทคนเดียว มีเจ้าของกิจการคนเดียว เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก เป็นอิสระมากกว่าแบบนิติบุคคล ได้กำไรเต็มที่ ไม่ต้องทำบัญชียื่นส่งงบ แต่ธุรกิจอาจจะดูไม่น่าเชื่อถือในระยะยาว เข้าถึงสินเชื่อการเงินได้ยาก เสียภาษีเงินได้มากกว่าการจะทะเบียนนิติบุคคล
  • แบบทะเบียนนิติบุคคล : คือการเปิดบริษัทที่มีเจ้าของกิจการตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป การดำเนินธุรกิจทุกอย่างต้องผ่านความเห็นชอบของเจ้าของกิจการทุกคนแต่ออกมาในนามของบริษัท ข้อดีคือภาระหนี้สินของบริษัทจะแยกจากชื่อเจ้าของกิจการอย่างชัดเจน ภาษีเงินได้ที่จะต้องเสียสูงสุดหลังหักค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ 20% เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าแบบทะเบียนพาณิชย์ แต่บริษัทมีภาระหน้าที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายกำหนดอย่างชัดเจน เช่น บัญชี งบการเงิน งบรายได้ การเสียภาษี ประกันสังคมของพนักงาน 

ประเภทจดทะเบียนนิติบุคคล และข้อดีข้อเสีย

  • ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ : เจ้าของกิจการทุกคนมีสิทธิ์จัดการกิจการและแบ่งปันผลกำไรจากกิจการทุกคนเหมาะกับกิจการที่มีเจ้าของหรือหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ข้อดีหุ้นส่วนหรือเจ้าของทุกคนมีสิทธิ์เท่ากัน แต่หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบภาระหนี้สินที่เกิดจากกิจการร่วมกันแบบ “ไม่จำกัด” จำนวน
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด : มีสิทธิ์สอบถามการดำเนินธุรกิจ ออกความเห็น รวมถึงเป็นที่ปรึกษาของกิจการได้ ข้อดีคือ หุ้นส่วนมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบหนี้สินจากกิจการไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตนเอง แต่ไม่สามารถตัดสินใจใดๆของการดำเนินกิจการได้และไม่สามารถใช้แรงทำงานเองได้
  • ห้างหุ้นส่วนไม่จำกัด : หุ้นส่วนมีสามารถดำเนินกิจการและตัดสินใจทุกอย่างในกิจการได้เต็มที่ มีสิทธิ์สูงสุด โดยต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อย 1 คน แต่รับผิดชอบหนี้สินที่เกิดจากกิจการแบบ “ไม่จำกัด”
  • บริษัทจำกัด : ทำกิจการร่วมกัน เพื่อหากำไรร่วมกัน จะต้องจดทะเบียนนิติบุคคล โดยมีผู้ร่วมก่อตั้งตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เหมาะกับกิจการที่มีการเติบโตระดับหนึ่ง มีมูลค่าบริษัทสูง ข้อดีคือมีความน่าเชื่อถือในระยะยาวมากกว่า การบริหารเป็นระบบมากกว่า โอกาสขอสินเชื่อการเงินง่ายกว่า และจำกัดความรับผิดในหนี้สินเท่ากับเงินทุนที่จดทะเบียน เพียงต้องจ่ายภาษี 2 ครั้งต่อปี การจัดตั้งยุ่งยาก มีข้อบังคับกฎหมายมาก การเลิกกิจการยากกว่า

หากท่านต้องการจดทะเบียนนิติบุคคลให้เป็นไปด้วยความสะดวกที่สุด ให้ท่านติดต่อที่ปรึกษากฎหมาย หรือทนายความให้ช่วยท่าน

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท 

  1. ศึกษาข้อมูลและตัดสินใจว่าการจดทะเบียนบริษัทแบบใดเหมาะกับท่าน เพื่อเตรียมเอกสารและทราบเงื่อนไขทางกฎหมายต่างๆ
  2. จัดเตรียมเอกสารสำหรับการจดทะเบียนบริษัท
  3. ตั้งชื่อบริษัทสำหรับการจดทะเบียน
  4. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน
  5. เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นของบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด โดยเป็นใครก็ได้สามารถเข้าซื้อหุ้นบริษัท โดยต้องซื้อขั้นต่ำจำนวน 1 หุ้นขึ้นไป
  6. จัดประชุมบุคลากรที่ได้รับคัดเลือกในบริษัท เพื่อให้เข้าใจข้อมูลตรงกัน
  7. จัดตั้งคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้บุคคลดำเนินการจัดเก็บค่าหุ้นบริษัทจำนวน 25% ของราคาหุ้นจริงให้ครบแทนผู้ก่อตั้งบริษัท เพื่อขอยื่นจดทะเบียนบริษัท โดยต้องยื่นจดทะเบียนต้องดำเนินการภายใน 3 เดือนหลังจากที่มีประชุม หากล้าช้าต้องจัดการประชุมใหม่
  8. ชำระเงินค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท
  9. รับใบสำคัญและหนังสือรับรอง เมื่อถึงขั้นนี้หมายความว่าบริษัทของท่านได้ถูกก่อตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ให้ไปรับกับนายทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในพื้นที่ที่อาศัย/สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด

สิ่งที่ต้องเตรียม เมื่อต้องการจดทะเบียนบริษัท

*เอกสารที่เกี่ยวกับบริษัท ให้ใช้ลายเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้ถือหุ้นคนใดก็ได้ 1 คน

*เอกสารบัตรประจำตัวของผู้ถือหุ้นแต่ละคน ให้ลงชื่อด้วยตัวเอง

  1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ.1)
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนจำกัด
  3. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
  4. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
  5. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
  6. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
  7. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
  8. (ถ้ามี)สำเนาข้อบังคับ ติดอากร 200 บาท
  9. หลักฐานการชำระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  10. แบบ สสช.1 
  11. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  12. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการทุกคน
  13. (ถ้าผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอได้ด้วยตัวเอง) หนังสือมอบอำนาจ
การจดทะเบียนบริษัท (Company Registration)

ชาวต่างชาติกับการจดทะเบียนบริษัท

รูปแบบการจดทะเบียนบริษัทจำกัด โดยมีชาวต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้น มี 2 กรณี ดังนี้

  1. ต่างชาติถือหุ้นบริษัทไม่เกิน 49% : บริษัทจำกัดนั้นถือเป็นบริษัทที่มีสัญชาติไทย สามารถประกอบกิจการได้ทุกอย่างตามที่กฎหมายกำหนด
  2. ต่างชาติถือหุ้นบริษัทตั้งแต่ 50% ขึ้นไป : บริษัทจำกัดนั้นถือเป็นบริษัทต่างด้าว ต้องขอใบประกอบธุรกิจต่างด้าว และมีข้อจำกัดเรื่อง ห้ามถือครองที่ดิน, ห้ามประกอบธุรกิจบางประเภท ได้แก่ประเภทธุรกิจที่กำหนดอยู่ในบัญชีหนึ่ง ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว) เช่น กิจการวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ การทำนา ทำสวน จะสงวนไว้สำหรับคนไทย เป็นต้น หรือต้องได้รับอนุญาตก่อนสำหรับการประกอบธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสอง หรือบัญชีสามท้าย พ.ร.บ.ประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

กรณีชาวต่างชาติลงทุนในบริษัทโดย..

– ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน

– หรือต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท

    14. ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนที่สอดคล้องกับจำนวนเงินกับที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละราย อย่างใดอย่างหนึ่ง

         14.1 สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน

        14.2 เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น

        14.3 สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระหุ้น

แหล่งอ้างอิง

  • Kasikornbank (ไม่ปรากฎวันที่) 9 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท ฉบับรวบรัด ครบจบ เข้าใจง่าย ครบเรื่องธุรกรรมการเงิน รู้จริงทุกธุรกิจ. Available at: https://www.kasikornbank.com/th/kbiz/article/pages/company-registration.aspx (Accessed: 17 August 2023). 
  • [มปช] จดทะเบียนบริษัทผู้ถือหุ้นต่างชาติ ต้องทำอย่างไร (no date) inflowaccount. Available at: https://inflowaccount.co.th/company-registration-shareholder-2/ (Accessed: 17 August 2023).